หนี้และสภาพคล่อง ตัวชี้วัดอนาคตอันใกล้ของธุรกิจ
 
 

ปัจจัยสำคัญมากในการดำเนินธุรกิจขององค์กร ปัจจัยหนึ่งคือเงินลงทุน
เงินลงทุนได้มาจาก 2 ทางหลักๆคือ ส่วนของเจ้าของ และ เจ้าหนี้
ได้เงินลงทุนมา ส่วนหนึ่งก็แปลงเป็นสินทรัพย์ 
เช่น สินค้า อาคาร เครื่องจักร อุปกรณ์ ฯลฯ
แล้วมาวัดกันว่า องค์กรมีความสามารถในการ 
ทำให้สินทรัพย์เกิดเป็นรายได้ ได้มากน้อยเพียงใด
...
โดยทั่วไป องค์กรธุรกิจเวลาเริ่มต้นกิจการ
หรือ ดำเนินกิจการมาแล้ว ต้องการขยายงาน
ก็มักจะใช้หนทาง การกู้เงินเป็นหลัก
คำถามคือถ้าเลือกได้ กู้มาก หรือกู้น้อย แค่ไหนเหมาะสม
...
คำตอบคือ ขึ้นอยู่กับว่า 
ธุรกิจนั้นมีอัตรากำไรก่อนหักดอกเบี้ยและภาษี (EBIT) มากน้อยแค่ไหน 
ถ้ามี EBIT มากกว่าอัตราดอกเบี้ยจ่าย พอสมควร ก็กู้มากได้ ไม่เป็นปัญหา
แต่ถ้า EBIT ของธุรกิจต่ำมาก ไม่หนีจากดอกเบี้ยจ่ายเท่าไหร่
กู้เยอะ โอกาส รอดยาก อย่างแน่นอน
..........
ซึ่งโดยปกติ ผู้บริหารก็จะมีความระมัดระวัง
ในเรื่องหนี้สิน และดอกเบี้ย อย่างที่สุดอยู่แล้ว
แต่ถ้าผู้บริหารจะตรวจสอบตัวเลขจากบัญชี
จะดูตัวเลขอะไรบ้าง เพื่อเทียบกับตัวเองในแต่ช่วงเวลา
หรือเทียบกับธุรกิจลักษณะเดียวกัน 
(กรณีหาข้อมูลได้ หรือเป็นธุรกิจที่อยู่ในตลาดหลักทรัพย์)
...
อัตราส่วนทางการเงินที่ต้องดูทุกปี 
นอกจาก กำไร ยอดขาย ต้นทุน ทั่วๆไปแล้ว
ก็จะมีเรื่องของ กำไรดำเนินการ เทียบกับดอกเบี้ยจ่าย
ซึ่งเราเรียกว่า อัตราความสามารถในการชำระหนี้
====================
Interest Coverage Ratio = EBIT/ดอกเบี้ยจ่าย
====================
โดยค่าอัตราส่วนนี้ อย่างแย่ที่สุด ต้องไม่ต่ำกว่า 3 คือ ยิ่งมากยิ่งดี
แต่ถ้าลงมาใกล้ๆ 3 ถือว่าค่อนข้างอันตราย
เพราะแปลว่าถ้าหักดอกเบี้ยและภาษีแล้ว
องค์กรเหลือกำไรน้อยมาก
...
อัตราส่วนตัวอื่นที่ใช้วิเคราะห์ หรือตัวชี้วัดเรื่องหนี้สิน ตัวอื่นๆเช่น
=====================
Debt Ratio (อัตราส่วนแห่งหนี้) = หนี้สินรวม / สินทรัพย์รวม
หรือจะมองในมุม
D/E Ratio = หนี้สิน / ส่วนของผู้ถือหุ้น
ก็ได้
=====================
ซึ่งอัตราส่วนทางการเงินเหล่านี้ ก็ใช้เพื่อเป็นเกณฑ์เฝ้าระวัง
ในกรณีที่องค์กรจะขยายธุรกิจ แล้วต้องการกู้เงินลงทุน
...
โดยเฉพาะองค์กรมีอัตราส่วนกำไรค่อนข้างน้อย
การกู้เงินมากเกินกำลัง มีความเสี่ยงค่อนข้างสูง 
ที่จะเกิดปัญหาสภาพคล่อง
...
ตัวเงินจริงๆ ก็ต้องรับภาระทั้งต้นทั้งดอก
ถ้ากู้เงินมาเพื่อซื้อสินค้า
ก็ต้องพยายามขายให้ทันค่าใช้จ่าย
หากกู้มาสร้างโรงงาน หรือลงเครื่องจักร
นอกจากต้องจ่ายต้นจ่ายดอกแล้ว
ตัวเลขทางบัญชี ก็จะมีภาระเรื่องค่าเสื่อมราคา
หากกู้มา ซื้อสินทรัพย์ที่ไม่มีตัวตน
ก็จะมีค่าใช้จ่ายตัดจ่ายทางบัญชีอีก
ซึ่งมีผลทางตัวเลขบัญชี โดยเฉพาะกำไรสุทธิก็จะลดน้อยลงไป
ก็จะมีผลต่อตัวเลขทางการเงินหลายๆเรื่อง เช่นกันการปันผลให้ผู้ถือหุ้น
สรุปว่า ตัวเงินจริงก็ฝืด ตัวเลขบัญชีก็มีแต่รายจ่ายที่เพิ่มขึ้น
...
ซึ่งปัจจัยที่มีผลต่อ สภาพคล่องคือ
- อัตราส่วนกำไร EBIT หรือ EBITDA เพราะถ้ากำไรน้อยมาก ก็เสี่ยงมาก
- ระยะเวลาเรียกเก็บหนี้ DSO = 365/(A/R Turnover) วัน
- ระยะเวลาชำระเงินค้าสินค้าเฉลี่ย DPO = 365/(A/P Turnover) วัน
(DSO และ DPO กล่าวรายละเอียดไว้ใน บทความที่แล้ว)
สรุปว่า ถ้ากำไรน้อย
แล้วยังเก็บเงินได้ช้ากว่าที่จ่าย
เตรียมพับเสื่อกลับบ้าน ได้เลยครับ
...
ส่วนอัตราส่วนที่ใช้เป็นตัวชี้วัด สภาพคล่องขององค์กร มีดังนี้
==========================
- Current Ratio = สินทรัพย์หมุนเวียน/หนี้สินหมุนเวียน
โดยค่าอัตราส่วนนี้จะมีค่าประมาณ 1 เท่า 
แต่ถ้าองค์กรที่มีการบริหารจัดการที่ดี ก็ควรจะมีค่านี้ประมาณ 1.5 เท่า
...
ซึ่งค่า Current Ratio นี้มากเกินไปก็ไม่ดี จะแปลได้ว่า เรามีสินค้าที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้อยู่มาก
เช่น มีสินค้าคงเหลือ ประเภท Dead Stock อยู่มากไม่ก่อให้เกิดรายได้
เลยทำให้มูลค่าสินทรัพย์หมุนเวียนมีมูลค่าสูง
...
- Quick Ratio =(สินทรัพย์หมุนเวียน-สินค้าคงเหลือ)/หนี้สินหมุนเวียน
ค่านี้ตัวเลขที่เหมาะสม ควรมีค่าใกล้ๆ 1 เท่า น้อยกว่าได้แต่อย่าน้อยจนเกินไป
ด้วยเหตุผลที่ว่า
ในบรรดาสินทรัพย์หมุนเวียน ทางบัญชีถือว่าตัวสินค้าเปลี่ยนเป็นเงินได้ช้า
ดังนั้นถ้าไม่รวมสินค้าคงเหลือแล้ว องค์กรมีศักยภาพในการชำระหนี้ได้เท่าไหร่
.....
- Cash Ratio = เงินสด+หลักทรัพย์ที่เป็นความต้องการของตลาด/หนี้สินหมุนเวียน
ซึ่งตัว Cash Ratio นี่เองที่จะบ่งบอกว่า หากเกิดอุบัติเหตุทางธุรกิจขึ้นมา
เช่นมีสถานการณ์ภายนอกที่ทำให้ธุรกิจหยุดชะงัก
องค์กรเรามีความสามารถ หรือมีกำลังที่จะชำระหนี้สิน ได้หรือไม่
==========================
สรุปคือ องค์กรไม่ว่าใหญ่หรือเล็ก ก็อาจเกิดปัญหาสภาพคล่องได้เสมอ
ดังนั้น นอกจากยอดขายแล้ว
สิ่งที่ต้องระมัดระวังเสมอๆ 
คือการรักษา อัตราส่วนกำไรให้ดีๆ
ถ้ากำไรธุรกิจน้อย การกู้เงินอาจเป็นระเบิดเวลาให้กับองค์กรได้
รักษาระยะ การเก็บหนี้ และการชำระหนี้ให้มีประสิทธิภาพ
และหมั่นตรวจดู อัตราส่วนสภาพคล่อง อยู่เสมอๆ
แล้วองค์กรเราจะ อยู่รอดปลอดภัย
เติบโตได้อย่างยั่งยืนครับ
......................................
แล้วคุยกันใหม่ครับ

 

www.chentrainer.com
อ.ราเชนทร์ พันธุ์เวช
081-9937077
chentrainer.com@gmail.com
LineID : Chentrainer
 
 Date:  17/6/2558 7:10:09